![กระดูกคอเสื่อม](https://static.wixstatic.com/media/76a594_c793e2b23b3141b1942c3d0abbbe781f~mv2.jpg/v1/crop/x_677,y_0,w_1620,h_2104/fill/w_553,h_718,al_c,q_85,usm_0.66_1.00_0.01,enc_avif,quality_auto/vectorstock_26734779.jpg)
การผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนคอ
การตัดสินใจผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนคอจำเป็นต้องประเมินสภาพร่างกายของผู้ป่วยอย่างละเอียด ส่วนใหญ่แล้วสามารถรักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด เช่น กายภาพบำบัดและการให้ยา ซึ่งควรได้รับก่อนที่จะพิจารณาผ่าตัด การเลือกวิธีการผ่าตัดนั้นมีหลายวิธี แต่ละวิธีนั้นขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพของกระดูกสันหลัง การวินิจฉัยและการตัดสินใจของศัลยแพทย์ ว่าวิธีการใดเหมาะสมที่สุด ตัวอย่างเทคนิคการผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนคอที่พบบ่อย มีดังต่อไปนี้:
1. Anterior cervical discectomy and fusion (ACDF)
2. Posterior Cervical Decompression and Fuison
3. Cervical Disc Replacement (Disc Arthroplasty)
4. Corpectomy
สิ่งที่เรานำเสนอ
บริการ
![ผ่าตัดหลัง](https://static.wixstatic.com/media/76a594_b2c5514483dc4302b269715fe8a272c5~mv2.jpg/v1/fill/w_980,h_1160,al_c,q_85,usm_0.66_1.00_0.01,enc_avif,quality_auto/vectorstock_642033.jpg)
การผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนเอว
โดยทั่วไปสามารถรักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด เช่น กายภาพบำบัดและการใช้ยา อย่างไรก็ตามหากอาการปวดเอว ปวดร้าวลงขา หรือมีขาอ่อนแรงไม่ดีขึ้น การผ่าตัดอาจมีบทบาทในจุดนี้ พยาธิสภาพอาจมีได้หลายอย่าง ที่พบบ่อย เช่น หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท โรคหมอนรองกระดูกเสื่อม โรคกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุน เป็นต้น เทคนิคการผ่าตัดกระดูกสันหลังบริเวณเอวที่พบบ่อย มีดังต่อไปนี้:
1. Microscope-assisted Lumbar Discectomy
2. Lumbar Decompression (Laminectomy or Laminotomy)
3. Lumbar Fusion
4. Vertebroplasty and Kyphoplasty
![มะเร็งลามมากระดูกสันหลัง](https://static.wixstatic.com/media/76a594_5887a16cd7f640d991f4bc14eeec53ab~mv2.jpg/v1/fill/w_980,h_980,al_c,q_85,usm_0.66_1.00_0.01,enc_avif,quality_auto/vectorstock_32395377.jpg)
ภาวะมะเร็งหรือเนื้องอกกระดูกสันหลัง
ภาวะมะเร็งหรือเนื้องอกบริเวณกระดูกสันหลังสามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ เนื้องอกที่เกิดในกระดูกสันหลังเอง (primary tumor) หรือเนื้องอกจากส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย แล้วแพร่กระจายไปยังกระดูกสันหลัง (spinal metastasis) โรคในกลุ่มนี้ค่อนข้างซับซ้อน จำเป็นต้องอาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายสาขาร่วมมือกันรักษา (Multidisciplinary approach) ศัลยแพทย์กระดูกสันหลังจำเป็นต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์หลายแผนก เช่น ศัลยแพทย์ระบบประสาท ศัลยแพทย์มะเร็งวิทยา อายุรแพทย์มะเร็งวิทยา พยาธิแพทย์ และแพทย์รังสีวิทยา เป็นต้น เพื่อให้การดูแลที่ครอบคลุมสำหรับผู้ป่วยที่มีเนื้องอกในกระดูกสันหลัง
แผนการรักษา มีดังต่อไปนี้:
การผ่าตัด
การฉายแสงด้วยรังสีรักษา
เคมีบำบัดหรือยาพุ่งเป้า
การให้ยาระงับปวด
![ผ่าตัดดี ปลอดภัย](https://static.wixstatic.com/media/76a594_aaf9b30553b649f786e380d16884b672~mv2.jpg/v1/fill/w_980,h_980,al_c,q_85,usm_0.66_1.00_0.01,enc_avif,quality_auto/vectorstock_15489495.jpg)
![มะเร็งกระดูก](https://static.wixstatic.com/media/76a594_9a3584c18ca347178e11368c8686179e~mv2.jpg/v1/fill/w_980,h_615,al_c,q_85,usm_0.66_1.00_0.01,enc_avif,quality_auto/vectorstock_44294365.jpg)
เนื้องอกกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อน
เนื้องอกกระดูก พบได้ 2 ภาวะหลักๆคือ 1. เนื้องอกที่เกิดจากกระดูกบริเวณนั้นเอง (primary bone tumor) ซึ่งอาจจะเป็นมะเร็ง เช่น มะเร็งกระดูกออสทีโอซาร์โคมา หรือไม่ใช่มะเร็ง (benign bone tumor) เช่น เอ็นคอนโดรมา และ 2.มะเร็งกระดูกระยะลุกลาม (bone metastasis)
เนื้องอกเนื้อเยื่ออ่อน มักจะมาพบแพทย์ด้วยมีก้อนเกิดขึ้นตามตัว สามารถพบได้ทั้งที่เป็นมะเร็ง เช่น liposarcoma และไม่ใช่มะเร็ง เช่น lipoma ได้เช่นกัน
ทางเลือกการรักษาโดยการผ่าตัดคือ:
1. Wide resection, marginal resection, and intralesional curettage
2. Limb-Sparing Surgery
3. Amputation
4. Reconstruction