top of page
สุทธิพัฒน์

นพ. สุทธิพัฒน์ ไพโรจน์บริบูรณ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

Spine Surgery

ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ ราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย

Baord of Orthopaedic Surgery, RCOST

Fellowship in Bone and Soft Tissue Tumor, TMSTS

Fellowship in SPINE SURGERY, Neurosurgery,

THE JOHNS HOPKINS HOSPITAL, Baltimore, USA

Start Now
นพ.​สุทธิพัฒน์ ไพโรจน์บริบูรณ์

ผศ.นพ. สุทธิพัฒน์ ไพโรจน์บริบูรณ์

“ผมเชื่อว่าการรักษาด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย จะส่งผลให้การรักษาออกมาดีและปลอดภัย ผมเอาใจใส่และดูแลคนไข้ เหมือนคนในครอบครัวของผมเอง”

Sutipat

คลินิกออร์โธปิดิกส์

หมอกระดูก

ผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนคอ

หากการรักษาแบบทานยาและกายภาพบำบัดแล้วไม่ดีขึ้น การผ่าตัดอาจเป็นทางเลือก ได้แก่ การผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกคอและเชื่อมข้อ (ACDF) การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมของหมอนรองกระดูกคอ (Cevical disc arthroplasty) การผ่าตัดระบายการกดทับเส้นประสาทคอทางด้านหลังรวมถึงการเชื่อมข้อ (Posterior decompression and instrumented fusion)

ผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนเอว

ภาวะกระดูกสันหลังส่วนเอวเสื่อม บางครั้งอาจทำให้เกิดอาการปวดหลัง ร่วมกับมีอาการปวดร้าวลงขาอย่างรุนแรง หากการรักษาโดยการทานยาและกายภาพบำบัดไม่ดีขึ้น การผ่าตัดอาจเป็นทางเลือก ซึ่งได้แก่ การผ่าตัดระบายการกดทับเส้นประสาท (Laminectomy) ร่วมกับการการเชื่อมข้อ (Instrumented fusion),  การผ่าตัดระบายการกดทับเส้นประสาทโดยไม่เชื่อมข้อ (Mobile sparing surgery)

ปวดหลัง
มะเร็งกระดูกสันหลัง

เนื้องอกกระดูกสันหลังแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ มะเร็งและไม่ใช่มะเร็ง เนื้องอกเหล่านี้สามารถเกิดในกระดูกสันหลังได้ แต่หากเป็นมะเร็งก็มีโอกาสแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย (มะเร็งระยะลุกลาม) นอกจากนี้ผู้ป่วยกลุ่มที่มีโรคประจำตัวเป็นมะเร็งอยู่เดิม เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งไขกระดูก ก็สามารถลุกลามมาที่กระดูกได้เช่นกัน

มะเร็ง
เนื้องอกกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อน

หลายๆครั้งการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ จากการตรวจร่างกายและเอกซเรย์อาจให้ข้อมูลไม่เพียงพอ เราอาจจำเป็นต้องตัดชิ้นเนื้อ (biopsy) มาส่องกล้องตรวจ เพื่ิพิจารณาตัวเลือกการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละราย ได้แก่ การผ่าตัด การฉายรังสี เคมีบำบัด ขึ้นอยู่กับชนิดและระยะของเนื้องอก

ก้อนเนื้อ

ประวัติโดยย่อ

ศัลยแพทย์กระดูกและข้อที่ได้รับการรับรองจากแพทยสภา และเรียนจบเฉพาะทางจาก USA

นพ.สุทธิพัฒน์ ไพโรจน์บริบูรณ์ เป็นศัลยแพทย์หรือหมอผ่าตัดกระดูกสันหลังที่ผ่านการฝึกอบรมจาก The Johns Hopkins Hospital, Baltimore, USA ปัจจุบันเป็นอาจารย์แพทย์ที่โรงพยาบาล

พระมงกุฏเกล้า และได้ตีพิมพ์บทความวิชาการหลายบทความร่วมกับศัลยแพทย์กระดูกสันหลังชื่อดัง จาก Harvard Medical School และ Mayo Clinic  

MRI

1,000+

Surgical Cases

8+

Years of Experiences

2

Years of Fellowship from

the Johns Hopkins Hospital

นพ.สุทธิพัฒน์ เชี่ยวชาญการรักษาภาวะปวดหลัง ปวดคอ ทั้งแบบไม่ผ่าตัดและการผ่าตัดกระดูกสันหลังด้วยเทคนิคสมัยใหม่จากสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเนื้องอกหรือมะเร็งกระดูกสันหลังอีกด้วย นพ.สุทธิพัฒน์ เป็นศัลยแพทย์ที่มีประสบการณ์ทำการผ่าตัดและรักษาโดยใช้แนวทางสหสาขาวิชาชีพ (ทีมแพทย์เฉพาะทางหลายสาขาช่วยกันรักษาผู้ป่วยมะเร็ง) เพื่อรักษาโรคมะเร็งกระดูกและผู้ป่วยมะเร็งซาร์โคมามานานกว่า 8 ปี ผู้ป่วยแต่ละรายจะได้รับการตรวจอย่างละเอียดเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดก่อนจะพิจารณาผ่าตัด ซึ่งหลายครั้งการรักษาโดยไม่ผ่าตัดก็สามารถให้ผลลัพธ์ที่ดีได้ แต่หากจำเป็นต้องผ่าตัด นพ.สุทธิพัฒน์ จะเลือกใช้เทคนิคการผ่าตัดที่ทันสมัยเหมือนที่ได้ศึกษามาจากประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดแบบแผลเล็กเจ็บน้อย การผ่าตัดแบบใช้กล้องไมโครสโคป  หรือการผ่าตัดแบบเชื่อมข้อ โดยเลือกวิธีหรือเทคนิคที่เหมาะสมที่สุดแก่ผู้ป่วยเป็นสำคัญ

บล็อกของเรา

บทความล่าสุด

10 ธันวาคม 2023

สุขภาพ

เหตุใดโรคกระดูกพรุนจึงส่งผลต่ออาการปวดหลังและความเสี่ยงที่คุณควรระวัง

โรคกระดูกพรุนเป็นภาวะที่ส่งผลต่อความหนาแน่นของมวลกระดูกที่ลดลง ส่งผลให้กระดูกเปราะบางและเสี่ยงต่อการแตกหักได้ง่ายขึ้นโดยอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย หากคุณเป็นโรคกระดูกพรุน อาการปวดหลังอาจมาจากกระดูกสันหลังหัก

5 สิงหาคม 2021

มะเร็ง

ทำไมมะเร็งอาจส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังได้ นั่นอาจเป็นสัญญาณการแพร่กระจายของเนื้อร้าย

ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม มะเร็งปอด หรือมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นต้น มะเร็งดังกล่าวสามารถที่จะแพร่กระจายไปอวัยวะอื่นๆ โดยเดินทางผ่านกระแสเลือดและก่อตัวเป็นเนื้องอกแพร่กระจายในปอด ตับ และกระดูก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "กระดูกสันหลัง"  ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหลังได้ 

bottom of page