top of page
กระดูกคอเสื่อม
การผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนคอ

การตัดสินใจผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนคอจำเป็นต้องประเมินสภาพร่างกายของผู้ป่วยอย่างละเอียด ส่วนใหญ่แล้วสามารถรักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด เช่น กายภาพบำบัดและการให้ยา ซึ่งควรได้รับก่อนที่จะพิจารณาผ่าตัด การเลือกวิธีการผ่าตัดนั้นมีหลายวิธี แต่ละวิธีนั้นขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพของกระดูกสันหลัง การวินิจฉัยและการตัดสินใจของศัลยแพทย์ ว่าวิธีการใดเหมาะสมที่สุด ตัวอย่างเทคนิคการผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนคอที่พบบ่อย มีดังต่อไปนี้:

1. Anterior cervical discectomy and fusion (ACDF)

2. Posterior Cervical Decompression and Fuison

3. Cervical Disc Replacement (Disc Arthroplasty)

4. Corpectomy

สิ่งที่เรานำเสนอ

บริการ

ผ่าตัดหลัง
การผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนเอว

โดยทั่วไปสามารถรักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด เช่น กายภาพบำบัดและการใช้ยา อย่างไรก็ตามหากอาการปวดเอว ปวดร้าวลงขา หรือมีขาอ่อนแรงไม่ดีขึ้น การผ่าตัดอาจมีบทบาทในจุดนี้ พยาธิสภาพอาจมีได้หลายอย่าง ที่พบบ่อย เช่น หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท โรคหมอนรองกระดูกเสื่อม โรคกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุน เป็นต้น เทคนิคการผ่าตัดกระดูกสันหลังบริเวณเอวที่พบบ่อย มีดังต่อไปนี้:

1. Microscope-assisted Lumbar Discectomy

2. Lumbar Decompression (Laminectomy or Laminotomy)

3. Lumbar Fusion

4. Vertebroplasty and Kyphoplasty

มะเร็งลามมากระดูกสันหลัง
ภาวะมะเร็งหรือเนื้องอกกระดูกสันหลัง

ภาวะมะเร็งหรือเนื้องอกบริเวณกระดูกสันหลังสามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ เนื้องอกที่เกิดในกระดูกสันหลังเอง (primary tumor) หรือเนื้องอกจากส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย แล้วแพร่กระจายไปยังกระดูกสันหลัง (spinal metastasis) โรคในกลุ่มนี้ค่อนข้างซับซ้อน จำเป็นต้องอาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายสาขาร่วมมือกันรักษา (Multidisciplinary approach) ศัลยแพทย์กระดูกสันหลังจำเป็นต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์หลายแผนก เช่น ศัลยแพทย์ระบบประสาท ศัลยแพทย์มะเร็งวิทยา อายุรแพทย์มะเร็งวิทยา พยาธิแพทย์ และแพทย์รังสีวิทยา เป็นต้น เพื่อให้การดูแลที่ครอบคลุมสำหรับผู้ป่วยที่มีเนื้องอกในกระดูกสันหลัง

แผนการรักษา มีดังต่อไปนี้:

การผ่าตัด

การฉายแสงด้วยรังสีรักษา

เคมีบำบัดหรือยาพุ่งเป้า

การให้ยาระงับปวด

ผ่าตัดดี ปลอดภัย
มะเร็งกระดูก
เนื้องอกกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อน

เนื้องอกกระดูก พบได้ 2 ภาวะหลักๆคือ 1. เนื้องอกที่เกิดจากกระดูกบริเวณนั้นเอง  (primary bone tumor) ซึ่งอาจจะเป็นมะเร็ง เช่น มะเร็งกระดูกออสทีโอซาร์โคมา หรือไม่ใช่มะเร็ง (benign bone tumor) เช่น เอ็นคอนโดรมา  และ 2.มะเร็งกระดูกระยะลุกลาม (bone metastasis) 

เนื้องอกเนื้อเยื่ออ่อน มักจะมาพบแพทย์ด้วยมีก้อนเกิดขึ้นตามตัว สามารถพบได้ทั้งที่เป็นมะเร็ง เช่น liposarcoma และไม่ใช่มะเร็ง เช่น lipoma ได้เช่นกัน

ทางเลือกการรักษาโดยการผ่าตัดคือ:

1. Wide resection, marginal resection, and intralesional curettage

2. Limb-Sparing Surgery

3. Amputation

4. Reconstruction

bottom of page